งานแมคคาทรอนิกส์ หรือที่เราเรียกกันว่า MECHANICAL PART เป็นชิ้นงานที่คอยสนับสนุนในการทำงานต่าง ๆ ของตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วน MECHANICAL PART จะมีด้วยกันหลายประเภทโดยจะแบ่งแยกตามรูปแบบการผลิตและการนำไปใช้งาน ยกตัวย่างเช่น Jig เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการกำหนดตำแหน่ง Fixture เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยยึดจับตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ มิลลิ่ง (milling) เป็นการขึ้นรูปโลหะโดยใช้เครื่อง milling เป็นต้น
โดยปัจจุบันในกระบวนการการผลิต Mechanical Components ผู้ผลิตหลายรายหันมานิยมใช้เทคโนโลยี CNC กันมากขึ้น เนื่องจากเครื่อง CNC เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องของการตัด เจาะ ชิ้นส่วนโดยทำการตั้งค่ากำหนดจากโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก โลหะ หรือพลาสติก เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องของความแม่นยำในการตัด เจาะ หรือบางรุ่นก็จะมีฟังก์ชั่นในการเปลี่ยนหัวเจาะตามการรูปแบบการเจาะอัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งข้อดีในการเลือกเทคโนโลยี CNC มาใช้กับงานผลิต Mechanical Components มันจะเข้ามาช่วยในเรื่องของการทำงานที่ได้ประสิทธิภาพมากและมีความแม่นยำมากขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยลดระยะเวลาการผลิต สามารถที่จะคอนโทรลระยะเวลาได้อีกด้วย
ในการทำงานของเจ้าเครื่องจักรนี้จะถูกเซ็ตโปรแกรมตามคำสั่งของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตจะทำการนำแบบใส่ไปในโปรแกรมและทำการเซ็ตเครื่อให้ทำการตัดตามแบบที่ออกแบบไว้ การตัดเจาะของเครื่อง CNC จะคล้ายการเจาะด้วยสว่านแต่ความเร็วและประสิทธิภาพจะดีกว่าหลายเท่า
การประยุกต์ใช้ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลกับอุตสาหกรรมต่างๆ
ในการประกอบหรือผลิตอุปกรณ์สำหรับในการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ชิ้นส่วน mechanical part ก็เป็นอีกสิ่งที่มีความสำคัญในการประกอบหรือผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ งั้นเรามาทำดูกันดีกว่าว่าในแต่ละอุตสาหกรรมชิ้นส่วน mechanical cnc นั้นใช้ทำอะไรกันบ้าง
อุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีความแม่นยำสูงและได้ประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นตัว pcb board และชิ้นส่วนเครื่องจักรกลจะต้องได้คุณภาพเช่นกัน ในการผลิต Mechanical Part จึงจะต้องมีความผิดพลาดน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้ตัวอุปกรณ์ทำงานผิดปกติหรือวินิจฉัยผิดพลาดได้
อุตสาหกรรมทางการบินและอวกาศ เป็นอีกอุปกรณ์ที่ต้องมีความแม่นยำสูง ชิ้นส่วน mechanical components สำหรับการบินและอวกาศจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและมีความทนทานเป็นพิเศษ เพราะต้องเผชิญกับความกดอากาศและสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนาน
อุตสาหกรรมการขนส่ง ไม่ว่าจะขนส่งสินค้าหรือขนส่งคน เพื่อให้สามารถทำการขนส่งให้ถึงที่หมายและมีความปลอดภัยอุปกรณ์ที่อยู่ในยานยนต์ก็ต้องมีประสิทธิที่ดีที่สุด ซึ่งในการออกแบบ วิศวกรจะนำ Mechanical Part มาช่วยในการออกแบบและทดสอบก่อนที่จะนำไปใช้งานจริง เพื่อให้อุปกรณ์ออกมาดีที่สุด
อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมนี้ถึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก mechanical cnc จึงจะต้องมีการขึ้นรูปมาอย่างดีไร้ความผิดพลาด เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้มีขนาดใหญ่จึงจะต้องถูกต้อง แม่นยำ ปลอดภัยและทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม
อุตสาหกรรมการทหาร อุปกรณ์สำหรับทางการทหารมักจะต้องพบเจอกับสภาพอากาศในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะแจ่มใสหรือเลวร้ายตัวอุปกรณ์ก็ต้องสามารถใช้งานได้ไม่ติดขัด เพราะฉะนั้นในขั้นตอน Assembly Process ในการขึ้นรูปชิ้นส่วนเครื่องจักรกลจะต้องมีความแม่นยำและถูกต้องเพื่อไม่ให้ในการนำไปใช้งานเกิดผิดพลาดและมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกผลิตและนำไปใช้งานในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าไปจนเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำให้ชิ้นส่วน mechanical components เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยในการทำงานของตัวอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อุตสาหกรรมการเดินเรือ ในการเดินเรือจะต้องพบจอกับสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและยังเสี่ยงต่อสภาพอากาศที่เลวร้ายอีกด้วย และในการเดินเรือชิ้นส่วน mechanical cnc มีความสำคัญและนำไปใช้เป็นจำนวนมาก จึงจะต้องมีความทนทาน ทนต่อสภาพอากาศและทนทานต่อแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี
รูป : mechanical part
ข้อมูลที่ต้องเตรียม
MECHANICAL PART หรือบริการรับสั่งผลิตชิ้นงานแมคคานิคัล ในการจะสั่งผลิตชิ้นงาน mechanical part กับเรานั้น ลูกค้าจำเป็นจะต้องมีข้อมูล 1 อย่างหลักๆ ได้แก่ Drawing.pdf ในไฟล์ข้อมูล Drawing.pdf ก็จะมีรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องในในการสั่งผลิตงาน Mechanical Part
สรุปข้อมูลที่ต้องเตรียมในการสั่งผลิต Mechanical Part
– Drawing.pdf
รูป : ข้อมูลที่ต้องเตรียมสำหรับงาน mechanical part
Drawing.pdf
ไฟล์ Drawing.pdf มีความสำคัญมากสำหรับในการสั่งผลิตชิ้นงาน mechanical part เพื่อให้ในการนำไปประกอบการผลิตทำออกมาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำไฟล์ Drawing.pdf จะต้องมีข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของชิ้นงาน mechanical part อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น ขนาดของชิ้นงาน รูปร่าง ความกว้างหรือขนาดของรูเจาะ เป็นต้น
รูป : mechanical part Drawing.pdf
STEP File (ถ้ามี)
ในกรณีของ STEP File ตามปกติเราจะไม่ได้ใช้งานในส่วนของข้อมูลนี้ แต่หากลูกค้าต้องการจะส่ง STEP File ให้เรานำไปเป็นข้อมูลเพิ่มเติม ในตัวไฟล์นั้นจะต้องมีข้อมูลรายละเอียดดังนี้ ภาพ MECHANICAL PART 3D, ขนาดและความกว้างหรือขนาดของรูเจาะ
รูป : STEP File mechanical part
Sample (ถ้ามี)
Sample หรือชิ้นงานตัวอย่างของ Mechanical Part เป็นข้อมูลหนึ่งลูกค้าจะทำการส่งมาให้หรือไม่ก็ได้ หากลูกค้าต้องส่งมาให้เราใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม ลูกค้าสามารถทำการแจ้งจากนั้นก็ทำการส่งมาให้ทางที่อยู่ของบริษัทตามหน้าเว็บไซค์ได้เลย
รูป : Mechanical Part Sample
รูปภาพประกอบ (ถ้ามี)
ในส่วนของรูปภาพประกอบ หากลูกค้ามีข้อมูลในส่วนนี้ ลูกค้าก็สามารถที่จะส่งรูปภาพประกอบมาให้เราเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการผลิตชิ้นส่วน Mechanical Part โดยลูกค้าสามารถส่งมาได้ทั้งทางไลน์หรือทางอีเมล โดยในการถ่ายรูปชิ้นงานแมคคานิคัลนั้น จะต้องทำการถ่ายให้ครบทุกด้านและเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน
รูป : รูปภาพประกอบสำหรับงาน Mechanical Part
วัสดุที่ใช้ในสำหรับการขึ้นรูป
วัสดุที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นส่วนเครื่องจักรกลมีหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติ ความทนทานและความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยแต่ละประเภทมีคุณสมบัติดังนี้
- อลูมิเนียม เป็นวัสดุที่มีความนิยมในการนำมาขึ้นรูปในงาน mechanical service เพราะเนื่องจากมีน้ำหนักเบา ทนทานต่อการกัดกร่อน และยังมีคุณสมบัติทางความร้อนและทางไฟฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม
- เหล็กกล้าไร้สนิม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อสแตนเลส มีคุณสมบัติในการทนทานต่อการสึกหรอ มีความแข็งแรงและเหล็กกล้าไร้สนิม มีความเหนียวสูง นอกจากนี้ยังมีลักษณะแวววาวเหมือนอลูมิเนียม และสามารถเชื่อม กลึงและขัดเงาได้ง่าย
- โลหะผสมเหล็ก มีความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีและมีราคาย่อมเยา ทำให้หลายอุตสาหกรรมนิยมนำวัสดุประเภทนี้ไปขึ้นแปรรูปเป็น Mechanical Part
- ทองเหลือง เป็นวัสดุที่มีความสามารถในการแปรรูป มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้อย่างดี ทนทานต่อการกัดกร่อน เหมาะกับงานที่มีแรงเสียดทานต่ำ นิยมใช้ในการสถาปัตยกรรมการตกแต่งเนื่องจากรูปลักษณ์ภายนอกมีความสวยงาน
- โพลีคาร์บอเนต เป็นวัสดุประเภทพลาสติกที่มีความนิยมนำไปใช้ในการขึ้นรูป mechanical components เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้การตัดเฉือน มีคุณสมบัติมีความโปร่งใสสูงและทนความร้อนได้อย่างดีเยี่ยมเหมาะกับการใช้งานในอุณหภูมิสูง แต่ข้อเสียคือจะไวต่อรอยขีดข่วนได้ง่าย
- โลหะผสม Inconel มีความสามารถในการรักษาความสมบูรณ์ของโครงสร้างในกรณีที่ต้องทำงานในอุณหภูมิที่สูง และมีความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชั่นได้อย่างดี เหมาะจะใช้ในงานที่ต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง อย่างเช่นในอุตสาหกรรมการบินและการอวกาศ
- เทอร์โมพลาสติก เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงมีความแปรรูปสูงมาก มีความทนทานต่อสารเคมีและความร้อนสูง
- ทองแดง วัสดุนี้เป็นที่นิยมในการนำไปขึ้นรูป Mechanical Part เนื่องจากมีคุณสมบัติในด้านการนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี สามารถขึ้นรูปได้ดี แต่ด้วยความอ่อนตัวของวัสดุส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในอุตสหกรรมเครื่องประดับ
- ไทเทเนียม มีน้ำหนักเบา มีความทนทานต่อการกัดกร่อนและนำความร้อนได้ดี แต่ข้อเสียคือนำไฟฟ้าได้ต่ำและยังยากต่อการตัดเฉือน แถมยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงจึงไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ในการขึ้นรูป mechanical components
- แมกนีเซียม เป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีน้ำหนักที่เบา มีคุณสมบติทางความร้อนที่ดี เหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง แต่ตัวแมกนีเซียมข้อเสียคือสามารถติดไฟได้ง่ายแถมยังไม่ทนทานต่อการกัดกร่อนและอาจมีราคาสูงกว่าวัสดุอื่นๆ
รูป : วัสดุที่ใช้ในสำหรับการขึ้นรูป
เกร็ดความรู้
jig and fixture หรือที่เราจะรู้จักกันในฐานะของตัวอุปกรณ์สำหรับยึดจับชิ้นงานที่จะมีลักษณะเป็นแท่นและจะมีตัวน็อตหรือตัวที่ใช้ในการล็อคเพื่อไม่ให้ตัวชิ้นงาน mechanical cnc ต่างๆและเป็นอุปกรณ์สนับสนุนในการทำงานในอุตสากรรมการผลิต ขยับเขยื้อนในขณะที่กำลังดำเนินงานอยู่ โดย jig จะเป็นตัวกำหนดตำแหน่งหรือนำทางการเจาะรูหรือตำแหน่งสำหรับการประกอบชิ้นงาน mechanical part ส่วน fixture จะเป็นตัวรองรับและทำการล็อคชิ้นงานให้มั่นคงและไม่ขยับเขยื้อน
รูป : jig and fixture
Metal Forming เป็นการขึ้นรูปโลหะอีกรูปแบบหนึ่งในรูปแบบการปั๊มวัตถุดิบให้เกิดเป็นรูปร่างของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล โดยจะใช้แม่พิมพ์เป็นตัวการใรการขึ้นรูป mechanical cnc การขึ้นรูปโลหะนั้นมีวิธีการขึ้นรูป mechanical part อยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งการขึ้นรูปโลหะแผ่นและการขึ้นรูปโลหะก้อน โดยทั้งสองแบบนั้นก็จะมีวิธีการขึ้นรูป mechanical components ที่แยกย่อยออกไปอีก อย่างเช่นการขึ้นรูปโลหะแผ่นก็จะมีทั้งการทุบขึ้นรูป, การอัดรีดขึ้นรูปและการรีดขึ้นรูป ส่วนการขึ้นรูปโลหะก้อนก็จะมีทั้งการปั๊มรูปโลหะแบบร้อนและการปั๊มรูปโลหะแบบเย็น เป็นต้น
รูป : Metal Forming
การรมดำ เป็นการทำปรับปรุงพื้นผิววัสดุของชิ้นงานเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายระหว่างการใช้งาน โดยจะนำผิววัสดุมาผ่านกระบวนการทางเคมีให้เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ จากนั้นปฏิกิริยาก็จะทำให้ผิววัสดุเปลี่ยนเป็นอ๊อกไซด์โลหะโดยในการรมดำนี้จะช่วยให้ตัวชิ้นงานมีความคงทน ไม่เกิดสนิมทำให้สามารถใช้งานได้ยาวนานอีกด้วย
รูป : การรมดำ
งานกลึง หรือภาษาอังกฤษที่เราเรียกว่า Turning Process เป็นกระบวณการผลิต mechanical components ให้เป็นรูปทรงกระบอกโดยการหมุนตัวชิ้นงานด้วยความเร็วสูงจากนั้นใช้ส่วนมีดหรือตัวอุปกรณ์ที่มีความคมทำการปาดที่ตัวชิ้นงานในขณะที่หมุนอยู่ให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการ งานกลึงนี้เป็น mechanical service อีกแบบหนึ่งที่ค่อนข้างๆนิยมในอุตสหากรรม cnc thailand โดยงานกลึงในแต่ละประเภทจะทำงานแตกต่างกัน อย่างเช่นการกลึงปาดหน้า เป็นการปาดผิวงาน ส่วนการกลึงปอกเป็นการปอกส่วนชิ้นงานภายนอกเพื่อให้ส่วนตรงกลางเล็กลงหรือหากเป็นแบบภายในก็จะเป็นการคว้านรูตรงกลางให้เกิดรูขึ้น
รูป : งานกลึง
spare part เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักรกลสำรองที่จะใช้ในเมื่อชิ้นส่วนเครื่องจักรกลหลักเกิดชำรุดหรือมีปัญหาขัดข้อง โดยในอุตสาหกรรมการผลิตนั้น ชิ้นส่วน mechanical part ที่เป็น spare part นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีเพราะถ้าเกิดในกรณีที่ตัวอุปกรณ์หรือเครื่องนั้นเกิดมีชิ้นส่วน Mechanical Part เกิดชำรุดหรือเสียหาย จะได้นำ spare part นำมาใช้แทนชิ้นส่วนนั้นได้ในทันที เลยจะต้องทำการสั่งผลิตเป็น spare part เอาไว้สำหรับสำรอง เพราะเนื่องจากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์บางตัวไม่สามารถจะหาซื้อได้ตามท้องตลาดแล้ว เพื่อให้สามารถนำออกมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีจึงจะต้องมีการสั่งผลิตเป็นแบบ spare part เอาไว้ด้วย
รูป : spare part
งานมิลลิ่ง หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า milling เป็นกระบวนการกัดชิ้นงานโดยการตัดเฉือน โดยกระบวนการมิลลิ่งนั้นในอุตสาหกรรม mechanical assemblies โดยการมิลลิ่งนั้นจะมีรูปแบบการกัดหลากหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของชิ้นงานที่ต้องการจะมิลลิ่ง
รูป : งานมิลลิ่ง
ประเภทการกัด
- การกัดราบ ใช้ในการกัดเนื้อวัสดุจำนวนมาก
- การกัดร่อง ใช้ในการทำร่องบนชิ้นงาน
- การกัดข้าง ใช้ในการกัดงานด้านข้างให้เรียบ
- การกัดคร่อม ใช้ตัดงานที่ขนานกันหรือในการตัดงานสองชิ้นในครั้งเดียว
- การกัดขึ้นรูปโค้ง ใช้ในการขึ้นงานให้เป็นแบบโค้งเว้า
- การกัดปาดหน้า ใช้ในการปาดผิวงาน
- การกัดบ่า ใช้ในการตัดผิวหน้าด้านระนาบด้านบนกับด้านข้างพร้อมกัน
- การกัดด้วยดอกเอ็นมิล เป็นการกัดแนวตั้งโดยใช้ดอกเอ็นมิล
- การกัดรูปร่าง ใช้ในการสร้างรูปทรงให้มีส่วนโค้ง
- การกัดหลุม ใช้ในการทำหลุมบนพื้นผิว
- การกัดผิวต่างระดับ ใช้ในการสร้างส่วนโค้งเว้าบนชิ้นงาน
รูป : ประเภทการกัด
ประเภทของเครื่องจักร CNC
ในการขึ้นรูปชิ้นงานแมคคานิคัลจำเป็นจะต้องใช้เครื่องจักรในการกัดและขึ้นรูป ซึ่งเราจะเรียกเครื่องจักรนั้นว่า ‘เครื่องจักร CNC’ เครื่องจักร CNC ในปัจจุบันจะมีด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทนั้นจะมีการทำงานการขึ้นรูปชิ้นงานแมคคานิคัลที่แตกต่างกันดังนี้
เครื่อง Lathe CNC : งานกลึงจะใช้เมื่อต้องการกำจัดพื้นผิวส่วนเกินของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล โดยใช้เครื่องสำหรับกลึงหมุนไปตามพื้นผิวเพื่อกำจัดส่วนเกิน ซึ่งในการทำงานของมันนั้นจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงาน แต่เดิมเครื่องกลึงนี้มีไว้เพียงการกลึงชิ้นงานเท่านั้น แต่ด้วยยุคสมัยที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครื่องกลึงจึงถูกพัฒนาเป็น CNC Lathe Cutting Machine ที่สามารถทำได้ทั้งงานกลึง, งานมิลลิ่งและงานอื่นๆ เป็นต้น
รูป : เครื่อง Lathe CNC
เครื่องมิลลิ่ง CNC : เครื่องกัดสามารถกัด Mechanical Part ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบการกัดแบบปาดหน้า, การกัดแบบพ็อกเก็ต, การกัดร่อง, การกัดแบบลบมุมและการกัดแบบคว้านขยายขนาดของรู
รูป : เครื่องกัด CNC
เครื่องเจาะ CNC : เครื่องเจาะประเภทนี้จะใช้ในการเจาะรู โดยผู้ใช้สามารถเปลี่ยนดอกสว่านได้ตามความเหมาะสมเพื่อสร้างรูให้ได้หลายรูปแบบ
รูป : เครื่อง Drilling CNC
เครื่องเจียร CNC : เครื่องเจียรสำหรับ CNC กรณีที่ต้องการเจียรชิ้นงานให้เกิดความเรียบหรือเกิดลวดลายต่างๆ แต่จะไม่สามารถเจียรลวดลายที่มีขนาดเล็กหรือที่มีความซับซ้อนได้
รูป : เครื่องเจียร CNC
เครื่องเลเซอร์ CNC : เป็นเครื่อง CNC ที่ตัด Mechanical Part โดยใช้เลเซอร์ โดยเลเซอร์ที่ใช้ก็มีทั้งแบบเลเซอร์ก๊าซ เลเซอร์คริสตัลหรือเลเซอร์ไฟเบอร์ตามลักษณะงานที่ต้องการ การตัดชิ้นส่วน mechanical cnc รูปแบบนี้จะมีความแม่นยำและเร็วกว่ารูปแบบอื่น
รูป : เครื่องเลเซอร์ CNC
เครื่อง CNC พลาสมา : เครื่อง CNC ประเภทนี้จะทำการตัดโดยใช้วัสดุที่นำไฟฟ้าที่ถูกเร่งโดยกระแสของพลาสม่าร้อน
รูป : เครื่อง CNC พลาสมา
เครื่องเราเตอร์ CNC : เครื่องนี้จะทำงานเหมือนกับเครื่องกลึงและเครื่องกัดแต่จะมีขนาดเล็กกว่า มีความสามารถในการขึ้นรูปและมักจะใช้ตัดชิ้นส่วนเครื่องจักรกลประเภทไม้
รูป : เครื่องเราเตอร์ CNC
เครื่อง CNC ห้าแกน : เครื่องกัดประเภทนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนเครื่องแบบ 3 แกน ด้วยคุณสมบติที่มาตัดถึง 6 ด้านและยังสามารถช่วยลดเวลาในการผลิตได้
รูป : เครื่อง CNC ห้าแกน
เครื่องตัด CNC Water Jet : เป็นการตัด mechanical components โดยใช้น้ำแรงดันสูงกับสารกัดกร่อนในการตัด แรงดันน้ำจะอยู่ที่ 20,000 PSI ถึง 55,000 PSI
รูป : เครื่องตัด CNC Water Jet
Mechanical Part Package
รูป : Mechanical Part Package
ในการเลือก Mechanical Part Package ลูกค้าสามารถเลือกตามความต้องการ โดย Mechanical Part Package ของเรามีอยู่ด้วยกัน 2 Package ตั้งแต่ Package M1 ไปจนถึง Package M2 ซึ่งในแต่ละ Package นั้นจะมีบริการและและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ลูกค้าสามารถอ่านรายละเอียด Package ทั้งหมดจากข้อมูลด้านล่างได้ดังนี้
Package M1 จะมีบริการ Mechanical Part โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 15-50 วัน
Package M2 จะมีบริการ Mechanical Part และ Mass Product โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 45-210 วัน
โดยลูกค้าจะต้องมี Drawing.pdf, Step File และ DFX File มาให้เรา
ในการ Mechanical Part นั้นเราจะนับจากวันทำงาน วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ , วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดพิเศษต่างๆ
ขั้นตอน MECHANICAL PART Process
กระบวนการการผลิตของ MECHANICAL PART เป็นขั้นตอนการผลิตและขึ้นรูปของชิ้นงานแมคคานิคัล รูปแบบในการทำงานในแต่ละขั้นตอนของเรานั้น เราจะยึดมั่นในข้อปฏิบัติของเรา วางแผนการทำงาน ทวนขั้นตอน ลงมือการทำงาน และตรวจสอบการทำงาน เพื่อให้กระบวนการผลิตชิ้นงานแมคคานิคัลเกิดประสิทธิภาพ ถูกต้องและแม่นยำที่สุด เรามีขั้นตอนการดำเนินงานสั่งผลิตชิ้นงานแมคคานิคัลทั้งหมด ขั้นตอนได้แก่
- รับคำสั่งซื้อ
- ตรวจสอบข้อมูล (pdf)
- เตรียม part
- แพ็คกิ้ง
- จัดส่ง
รูป : ขั้นตอน MECHANICAL PART Process
รับคำสั่งซื้อ
ขั้นตอนที่ 1 ทำการรับคำสั่งซื้อเมื่อลูกค้าทำการส่งใบคำสั่งซื้อหรือใบ PO จากนั้นทำการตรวจสอบรายละเอียดคำสั่งซื้อที่ลูกค้าได้ทำการแจ้งเอาไว้ เราก็จะทำการแจ้งช่องทางการชำระเงิน และเมื่อลูกค้าทำการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ให้การแจ้งหลักฐานการชำระเงินจะในช่องทางไลน์หรืออีเมลก็ได้ จากนั้นเราก็จะทำการคอนเฟิร์มออเดอร์กลับไป
รูป : รับคำสั่งซื้องานแมคคานิคัล
ตรวจสอบข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 เราจะนำข้อมูลที่ลูกค้าให้มาซึ่งก็คือไฟล์ Drawing.pdf สำหรับงาน MECHANICAL PART มาทำการตรวจสอบ โดยสิ่งที่เราจะตรวจสอบจะมีในส่วนของ Dimension ที่ลูกค้าต้องการ ความกว้าง ความยาว รูที่ต้องเจาะของชิ้นงาน mechanical part
รูป : ตรวจสอบข้อมูลสำหรับงาน mechanical part
เตรียม part
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อทำการผลิตชิ้นงาน mechanical part เสร็จแล้ว เราก็จะนำชิ้นงานแมคคานิคัลมาทำการจัดเตรียมพร้อมกับเช็คจำนวน พร้อมกับ QC ชิ้นงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนก่อนที่จะนำส่งให้กับลูกค้า
รูป : เตรียม part
แพ็คชิ้นงานแมคคานิคัล
ขั้นตอนที่ 4 ต่อมาจะเป็นการนำชิ้นงานแมคคานิคัลที่เตรียมไว้มาทำการแพ็คบรรจุภัณฑ์ โดยในการแพ็คนั้น ขั้นแรกเราจะทำการตัดโฟมเป็นช่องให้พอดีกับชิ้นงานกับตัวกล่อง รวมถึงทำการตัดโฟมใส่ลังเพื่อกันการกระแทก จากนั้นก็นำโฟมใส่กล่องและนำชิ้นงานมาใส่ในช่องโฟมจากนั้นก็ทำการปิดฝากล่อง และนำกล่องที่ใส่ชิ้นงานแล้วนำมาใส่ในช่องโฟมในลังและทำการแพ็คปิดกล่องเป็นอันเสร็จ
รูป : แพ็คชิ้นงานแมคคานิคัล
จัดส่ง mechanical part
ขั้นตอนที่ 5 ในการจัดส่ง เราจะมีหลายช่องทางให้ลูกค้าเลือกไม่ว่าจะทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของในประเทศจะมีดังนี้ รับด้วยตัวเอง, รถยนต์ขนส่งเอกชน, รถจักรยานยนต์ขนส่งเอกชนและช่องทางเอกชนช่องทางอื่นๆ โดยระยะเวลาจะอยู่ที่ 1-2 วันทำการ ส่วนต่างประเทศ จะมีทั้งทางเครื่องบินและเรือ โดยระยะเวลาจะอยู่ที่กฏเกณฑ์ของขนส่งที่ลูกค้าเลือก
รูป : จัดส่ง mechanical part
ข้อดีข้อเสียของ Mechanical Part
ข้อดีของ Mechanical Part
- สามารถถอดประกอบได้หลายครั้ง : ด้วยลักษณะของชิ้นส่วน mechanical part จะเป็นชิ้นต่อชิ้น ทำให้สามารถถอดประกอบได้ง่าย และยังสามารถนำไปประกอบใส่เครื่องจักเครื่องอื่นที่เป็นรุ่นเดียวกันอีกด้วย
- ง่ายต่อการตรวจสอบและบำรุงรักษา : ด้วยชิ้นส่วน Mechanical Part ที่สามารถถอดประกอบได้ ทำให้ในการตรวจสอบและการบำรุงรักษาสามารถทำได้ง่าย และยังสามารถควบคุมคุณภาพชิ้นส่วนแมคคานิคอลได้ง่ายเพื่อให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาว
- มีความทนทาน แข็งแรง : วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนแมคคานิคอลล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่มีความทนทานทั้งนั้น ทำให้ในการนำไปใช้งานจริงตัวชิ้นส่วน mechanical part จึงมีความทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักและรับแรงกดได้เป็นอย่างดี
- ทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ : ในการใช้งานในบางอุตสาหกรรม อาจจะต้องเจอกับการใช้สารเคมี ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ผลิตชิ้นส่วนแมคคานิคอลนั้นจะต้องทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้อย่างดี
ข้อเสียของ Mechanical Part
- มีต้นทุนเพิ่ม : ในการผลิตชิ้นส่วน mechanical part แน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่หากยิ่งเป็นชิ้นส่วนแมคคานิคอลที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะทางแล้ว อาจจะต้องมีการออกแบบใหม่และอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
- หากชิ้นส่วนชำรุดต้องผลิตใหม่เท่านั้น : ในกรณีที่ระหว่างการใช้งานชิ้นส่วน Mechanical Part เกิดการชำรุดเสีย เนื่องจากให้เครื่องจักรสามารถงานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนใหม่ทันที แต่หากนำชิ้นส่วนที่ชำรุดไปทำการซ่อมก็อาจจะสามารถทำให้กลับไปใช้งานได้ แต่ก็เสี่ยงที่จะทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรทำงานได้ไม่ดีดังเดิม และหากมีการซ่อมแซมที่ไม่ดีก็อาจจะส่งผลเสียต่อเครื่องจักรได้ในอนาคตได้ จึงจำเป็นจะต้องผลิตชิ้นส่วน mechanical part ใหม่เท่านั้น
คำถาม
R&D OUTSOURCE , PCB DESIGN , TRADING PCB , SOURCING COMPONENTS , PCB ASSEMBLY , BOX BUILD , MECHANICAL PART , WIRE HARNESS
ผลงานที่ผานมามีดังนี้ Click
1. ส่งใบคำสั่งซื้อหรือใบ PO 2. ชำระเงิน 3. ดำเนินงาน 4. ทำการจัดส่ง
Line: meesinsuptechnology, Tel: 0898954407,E-mail: sales@meesinsup.co.th
อนุญาตให้เผยแพร่ และต้องให้เครดิตบริษัท มีสินทรัพย์ เทคโนโลยี จำกัดเท่านั้น ห้ามดัดแปลงแก้ไข หรือนำไปใช้ในเพื่อการค้าโดยเด็ดขาด