Capacitors

Coils

Connector

Relays

Resistors

Semiconductor

Switches

Sourcing Components รับจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

          อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือภาษาอังกฤษที่เราเรียกว่า electronic device อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะทำงานได้โดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในภายในอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าแล้วนำไปยังตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้
          อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทแอ็กตีพ( Active Devices ) หรืออุปกรณ์ประเภทโซลิดสเตท และอุปกรณ์ประเภทที่สองคืออุปกรณ์พาสชีพ ( Passive Devices ) และอุปกรณ์ประเภทที่สามเป็นอุปกรณ์ทั่วไปที่ใช้ในการเชื่อมต่อและแสดงภาวะหรือเป็นตัวชี้ ( Indication )

sourcing electronic components

รูป : Sourcing Components

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ

        ในการประกอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมไหนย่อมจำเป็นจะต้องมีแผงวงจรและในการประกอบแผงวงจรนั้นก็ต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบสำคัญเช่นกัน หากไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะประกอบแผงวงจรที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ

  1. อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เป็นโทรศัพท์, คอมพิวเตอร์, แล็อท็อปหรือสมาร์ทโฟน
  2. อุตสาหกรรมวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การออกแบบ พัฒนาและวิจัยแผงวงจรหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป
  3. อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ระบบควบคุม, ระบบนำทาง, ระบบความบันเทิง
  4. อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ เช่น ระบบวิทยุสื่อสาร, ระบบดาวเทียม, ระบบเรดาร์
  5. อุตสาหกรรมทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดความดัน, เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ, เครื่องเอ็กซ์เรย์, เครื่อง MRI
  6. อุตสาหกรรมโทรมนาคม เช่น ระบบดาวเทียม, ระบบการสื่อสาร, เราเตอร์
  7. อุตสาหกรรมพลังงานและกำลัง เช่น ระบบพลังงานทดแทน, อุปกรณ์เพื่อการควบคุมและติดตาม
  8. อุตสาหกรรม IOT (Internet of things) เช่น อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อสัญญาณ, เซ็นเซอร์
  9. อุตสาหกรรมเกมส์และความบันเทิง เช่น เครื่องเสียง, เครื่องเล่นเกมส์
  10. อุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อน, อุปกรณ์เช็คแรงลม

ข้อมูลที่ต้องเตรียม

       บริการสั่งซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือ SOURCING COMPONENTS เราสามารถจัดหาและสั่งซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ตามที่ลูกค้าต้องการไม่ว่าจะในและต่างประเทศ ในการสั่งซื้อ COMPONENTS กับเรา ลูกค้าจะต้องมีข้อมูลให้เราหลักๆ คือ Bill of Materials.xls และภายในไฟล์ BOM.xls นั้นจะต้องมีข้อมูลของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ครบถ้วน ไม่ว่าจะทั้งรหัสสินค้าผู้ผลิตทุกรายการ, ชื่อ, จำนวน, ตำแหน่ง, ค่าของอุปกรณ์, รายละเอียด, แพ็คเกจหรือขนาด, ผู้ผลิต เพื่อความรวดเร็วและถูกต้องในการสั่งซื้ออุปกรอิเล็กทรอนิกส์กับเรา

       สรุปข้อมูลที่ต้องเตรียมในการสั่งซื้อแผ่นปริ้น

  • ไฟล์ BOM.xls
sourcing component Required information

รูป : ข้อมูลที่ต้องเตรียมสำหรับงานสั่งซื้ออุปกรณ์

Bill of Materials.xls

sourcing component BOM

รูป : ไฟล์ Bom.xls

BOM คืออะไร?

            BOM หรือ ไฟล์ BOM คำที่เรามักจะพูดกันติดปากหรือได้ยินกันบ่อยๆในการจะส่งไฟล์ข้อมูลให้บริษัท PCB Company สำหรับในการสั่งทำ PCB อยู่บ่อยครั้ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าไฟล์ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการสั่งประกอบ PCB และสั่งซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากไม่มีไฟล์นี้ ในการจะสั่งซื้อ electronic components เพื่อนำมาใช้ในขั้นตอน PCB assemblies จะทำให้ยุ่งยากและวุ่นวายและอาจจะทำให้ระยะเวลาในการผลิตแผงวงจรล่าช้าได้ เพราะฉะนั้นการมีไฟล์ BOM นี้จึงมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับ BOM กันดีกว่าว่ามันมีความสำคัญอย่างไรต่ออุตสาหกรรมด้านแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์บ้าง

            BOM หรือชื่อเต็มก็คือ Bill of Materials เป็นไฟล์เอกสารที่ใช้ในการกำหนดหรือระบุรายละเอียดข้อมูลของวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนว่าต้องใช้อะไร จำนวนเท่าไหร่หรือใช้ที่ไหนบ้าง เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลรวมไปถึงการตรวจสอบข้อมูลที่จะใช้ในกระบวณการการผลิตโปรดักส์ต่างๆ

            ในปัจจุบันไฟล์ BOM ส่วนใหญ่จะนิยมสร้างในไฟล์ Excel หรือ CSV เนื่องจากใช้ง่ายและมีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการคำนวณต่างๆ และการสร้างไฟล์ในรูปแบบของตารางนั้นยังช่วยให้คำนวณและสามารถตรวจสอบข้อมูลในกระบวณการการผลิตได้ง่ายอีกด้วย

            ความสำคัญของ BOM

            BOM ไม่ใช่แค่ไฟล์ต้นทุนแต่เป็นไฟล์ต้นทุนที่จะช่วยในการคิดต้นทุนและเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้ผลิตได้อย่างดี อีกทั้งในเวลาการจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถค้นหา electronic components ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการตรวจสอบกระบวณการการผลิตและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย

            การกำหนดรายการวัตถุดิบ การกำหนดรายการวัตถุดิบเป็นส่วนสำคัญก่อนขั้นตอนกระบวนการการผลิต เพื่อให้ในการจัดซื้อสามารถจัดซื้อได้ถูกต้อง และได้จำนวนที่ไม่ขาดไม่เกินพอ เพื่อให้ต้นทุนเหมาะสมกับการผลิตนั้นๆ

            วัตถุดิบในสต็อกไม่ขาด การทำ BOM ทำให้เราได้รู้ถึงจำนวนวัตถุดิบภายในสต็อกและทำให้เราได้รู้ว่าควรจะซื้อเพิ่มเท่าไหร่ ทำให้วัตถุดิบในสต็อกไม่ขาด

            ต้นทุนไม่เยอะเกินงบ ในการสร้าง BOM ทำให้เรารู้ได้ว่าราคาของวัตถุดิบในแต่ละรายการมีราคาเท่าไหร่และต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ อีกทั้งยังทำให้เราสามารถคำนวนณต้นทุนได้ว่าจะต้องใช้งบประมาณไหนเพื่อเป็นการป้องกันซื้อของเกินงบนั่นเอง

         

สิ่งที่ควรจะมีใน BOM (Bill of Materials)

  1. ลำดับของชิ้นส่วน (BOM Level) : ลำดับของวัตถุดิบต่างๆที่แสดงถึงลำดับการประกอบก่อนหรือหลัง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายว่าชิ้นส่วนไหนต้องประกอบก่อนหรือหลัง
  2. หมายเลขวัตถุดิบ (Part Number) : ใช้อ้างอิงวัตถุดิบเพื่อให้ง่ายต่อการผลิต
  3. ชื่อ (Part Name) : ชื่อเรียกของวัตถุดิบนั้นๆ
  4. จำนวน (Quantity) : จำนวนหรือปริมาณของวัตถุดิบที่จะใช้
  5. หน่วยวัด (Unit of Measurement) : หน่วยของวัตถุดิบที่ใช้ เช่น ชิ้น, กรัม, กิโลกรัม
  6. ราคา (Price) : ราคาของวัตถุดิบนั้นๆ
  7. ชื่อผู้ผลิต (Manufacturer Name) : ชื่อของผู้ผลิตวัตถุที่ใช้เพื่อให้สามารถค้นหาในการซื้อได้ง่าย
  8. รหัสผู้ผลิต (Manufacturer ID) : รหัสผู้ผลิตใช้เพื่อในให้สามารถค้นหาในการซื้อวัตถุดิบได้ง่าย
  9. วัตถุดิบสำรอง (Alternate parts) : ในกรณีที่ไม่สามารถหาวัตถุดิบหลักได้จำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุดิบสำรองที่สามารถทดแทนวัตถุดิบหลักเอาไว้
  10. คำอธิบาย (Description) : เพิ่มคำอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่าย เช่น ตำแหน่งที่จะวางชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ประเภทของ BOM (Bill of Materials)

      BOM มีหลายประเภทด้วยกัน และในแต่ละประเภทก็จะนำไปใช้ที่แตกต่างกันอีกด้วย

  1. รายการวัสดุของการผลิต (Manufacturing Bill of Materials : mBOM)

      BOM ประเภทนี้จะเป็นประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุด มันจะใช้ในการผลิตโปรดักส์ต่างๆ โดยข้อมูลด้านในก็จะประกอบไปด้วยรายการและรายละเอียดต่างๆของวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตนั้นๆ จำนวนของวัตถุดิบในรายการจะขึ้นอยู่จะต้องสอดคล้องกับโปรดักส์ที่จะผลิต ทำให้ตัวไฟล์ BOM นี้ นอกจากเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการสั่งซื้อสำหรับกระบวณการการผลิต ยังเป็นไฟล์ที่สามารถเช็คและตรวจสอบวัตถุดิบรวมไปถึงโปรดักส์ที่จะทำการผลิตได้อีกด้วย

  1. รายการวัสดุของวิศวกรรม (Engineering Bill of Materials : eBOM)

      BOM ในทางวิศวกรรมจะใช้ในการแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการออกแบบโดยแผนกวิศวกรรม โดยในรายนั้นก็จะมีข้อมูลของวัตุดิบและรายละเอียดต่างๆที่จะใช้ในการผลิตโปรดักส์ในทางวิศวกรรม เช่น จำนวน ชื่อวัตถุดิบ รหัสผู้ผลิต เป็นต้น

  1. รายการขายของวัสดุ (Sales Bill of Materials : SBoM)

      BOM ประเภทนี้จะแตกต่างจากประเภทอื่น เพราะ BOM การขายจะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เฉพาะที่อยู่ในขั้นตอนการขายแล้ว รวมถึงรายละเอียดของโปรดักส์ก่อนการประกอบและชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตด้วย หรือที่เรียกว่าใบสั่งขาย

  1. รายการวัสดุบริการ (Service Bill of Materials)

      BOM บริการถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับช่างบริการ โดยเนื้อหาด้านใน BOM นี้ จะเป็นคำแนะนำในการซ่อมผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการติดตั้งและบริการต่างๆของช่าง

  1. BOM การผลิต (Production BOM)

      BOM การผลิตจะแสดงรายการประกอบ หน่วยการวัด และส่วนประกอบย่อยทั้งหมด ตลอดจนราคา คำอธิบายและหน่วยวัดที่เกี่ยวข้อง BOM การผลิตเป็นอีกส่วนที่สำคัญ เพราะมันจะใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการผลิตเพื่อทำให้ผู้ผลิตสามารถจะจัดสรรวัตถุดิบและต้นทุนได้อย่างเหมาะสม

  1. การประกอบ BOM (Assembly BOM)

      BOM ประเภทนี้จะคล้ายกับ BOM การขาย แต่จะแตกต่างกันตรงที่ BOM การขายจะแสดงผลิตภัณฑ์ที่เป็นรายการสินค้าคงคลังหรือสินค้าสำเร็จรูป แต่ Assembly BOM จะแสดงรายการหลักเป็นรายการขาย นอกจากนี้ Assembly BOM ยังสามารถเป็นได้ทั้งแบบระดับเดียวและหลายระดับได้ด้วย

  1. เทมเพลต BOM (Template BOM)

      เทมเพลต BOM เป็นแม่แบบของ BOM สามารถใช้ได้กับ Sales BoM และ Production BoM และจะแสดงรายการหลักที่ด้านบน จากนั้นก็จะตามด้วยรายย่อยตามลำดับ

  1. BOM ที่กำหนดค่าได้ (Configurable BOM : cBOM)

      BOM ที่กำหนดค่าได้จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่จำเป็นในการออกแบบและการผลิตตามที่ลูกค้ากำหนด Configurable BOM จะนิยมใช้ในการผลิตโปรดักส์ที่สามารถปรับแต่งได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ เป็นต้น

  1. BOM ซอฟต์แวร์ (Software BOM)

      BOM นี้จะใช้ในบริษัทที่พัฒนาซอฟต์แวร์ จะใช้ BOM ในการแสดงรายการเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ อาจรวมถึงระบบหลังบ้าน ระบบหน้าบ้าน ส่วนขยาย ฐานข้อมูลหรือภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม เป็นต้น

  1. BOM ระดับเดียว (Single-level BOM)

      BOM ระดับเดียวจะใช้กับโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนและจะไม่มีส่วนประกอบย่อยเหมือน ภายใน BOM จะประกอบไปด้วยวัตถุดิบที่จะใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์และจะแสดงรายการตามลำดับ

  1. BOM หลายระดับ (Multi-level BOM)

      BOM หลายระดับจะตรงข้ามกับ BOM ระดับเดียวโดยสิ้นเชิง เพราะ BOM หลายระดับจะใช้กับโครงสร้างที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และมีส่วนประกอบย่อยต่างๆ และหมายเลขของแต่ละรายการจะต้องมีความสัมพันธ์กันกับรายการหลัก

ประเภทของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

           ประเภทของ electronic components สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 10 ประเภทหลักๆได้ดังนี้

            ไอซี (IC) เป็นวงจรรวมที่นำเอาองค์ประกอบของวงจรต่างๆมารวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็กในหนึ่งตัว ไอซีมี 3 ประเภท Digital IC ทำหน้าที่ในการสวิทซ์ทางดิจิตอลและไมโครโพรเซสเซอร์, Analog IC ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้าและขยายสัญญาณ และ Mixed IC เป็น IC ที่มีการทำงานร่วมกันระหว่าง Digital IC และ Analog IC

            ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการขยายสัญญาณและทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า ทรานซิสเตอร์สามารถแบ่งได้ตามโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำโดยมี 2 ชนิดได้แก่ ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP และทรานซิสเตอร์ชนิด NPN

            ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าและทำหน้าที่ลดการไหลและลดระดับแรงดันไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน ชนิดของตัวต้านทานสามารถแบ่งออกได้หลายแบบ แต่เราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆจากชนิดของตัวต้านทานและชนิดของตัวต้านทานที่แบ่งตามการใช้งานเป็นต้น

            คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปแบบของสนามไฟฟ้าที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน ตัวเก็บประจุมีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกันคือ ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ (Fixed Capacitor) และ ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)

            ไดโอด (Diode) เป็นอุปกรณ์ที่มีสองขั้วได้แก่ ขั้ว A (Anode) และขั้ว K (Cathode) คุณสมบัติของมันคือยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียวกันและป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลกลับไปทางเดิม ไดโอดมีทั้งหมด 4 ประเภทได้แก่ ไดโอดเปล่งแสง (LED), โฟโตไดโอด (Photo Diode), ไดโอดกำลัง (Diode Power) และซีเนอร์ไดโอด (Zenner Diode)

            ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า คอยล์ (Coil) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าโดยอาศัยการตัดผ่านขดลวด และมีคุณสมบัติในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านอีกด้วย ประเภทตัวเหนี่ยวนำมีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกันคือ ตัวเหนี่ยวนำแกนอากาศและตัวเหนี่ยวนำแกน Ferromagnetic

            ไดโอดเปล่งแสง (LED) เป็นอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในจำพวกไดโอดที่มีความสามารถเปล่งแสงได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวมัน ไดโอดเปล่งแสงสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดได้แก่ แสงที่ตาคนมองเห็นและแสงที่ตาคนมองไม่เห็น

            คริสตัล (Crystal) เป็นอุปกรณ์ที่ให้กำเนิดสัญญาณไฟฟ้าความถี่คงที่ โดยจะเปลี่ยนจากกระแสไฟฟ้ากระแสตรงไปเป็นคลื่นรูปสี่เหลี่ยม โดยจะในพวกอุปกรณ์วิทยุหรือคอมพิวเตอร์เป็นต้น

            เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คอยตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติหรือแวดล้อมโดยรอบวัตถุ เซนเซอร์มีทั้งหมดด้วยกัน 3 ประเภทด้วยกันคือ เซนเซอร์ชนิดเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple), เซนเซอร์ชนิดอาร์ทีดี (Resistor Temperature Detector : RTD) และเซนเซอร์ชนิดสเตรนเกจ (Strain Gauge)

            สวิตซ์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ควบคุมการไฟลของกระแสไฟฟ้าภายในวงจร ประเภทของสวิตซ์มีหลากหลายชนิดด้วยกันได้แก่ สวิตซ์เลื่อน, สวิตซ์กระดก, สวิตซ์กด, สวิตซ์แบบก้านยาว, สวิตซ์แบบหมุน, สวิตซ์แบบดิพ เป็นต้น

sourcing component type component

รูป : ประเภทของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

SMD กับ Plated Thru-hole (axial, radial, dip)

        ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ SMD และ Plated Thru-hole (axial, radial, dip) และ electronic components ทั้ง 2 ประเภทนั้นก็มีการทำงานและรูปแบบที่แตกต่างกันดังนี้

        SMD ชื่อเต็มก็คือ Surface Mount Device เป็นอุปกรณ์ประเภทยึดอยู่บนพื้นผิวของ pcb board ในการประกอบ PCB assemblies อุปกรณ์ประเภท SMD ไม่ต้องเสียบขาลงไปในรู โดยจะใช้การวางลงบนแผ่นวงจรพิมพ์ที่ตำแหน่งที่มีตะกั่วอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ในการลงอุปกรณ์ประเภทนี้ เราจะใช้เครื่องจักร SMT (Pick & Place) ในการลงอุปกรณ์เพราะมันมีความแม่นยำและรวดเร็วกว่า

ข้อดีของ SMD

  • ด้วยขนาดที่เล็กทำให้สามารถวาง electronic components ได้ทั้งสองด้านบน Print Circuit Board
  • สามารถรับส่งสัญญาณความเร็วสูงได้
  • สามารถใช้พื้นที่ของ circuit board ได้อย่างเหมาะสม
  • ลดต้นทุน
  • สามารถถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ง่าย
  • มีความสามารถในการลดเสียงรบกวนจากไฟฟ้า
  • ให้ประสิทธิภาพความถี่สูงที่ดีกว่า

ข้อเสียของ SMD

  • ง่ายต่อการเสียหายได้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กลง
  • ในการซ่อมแซมอาจมีราคาสูงเนื่องจากต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาสูง
  • หากมีการสั่งผลิตน้อยจะยิ่งมีราคาแพง

        Plated Thru-hole (axial, radial, dip) หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้นๆว่า Dip เป็นอุปกรณ์ประเภทเสียบผ่านรู ในการประกอบ PCBA นั้น อุปกรณ์ประเภท Plated Thru-hole (axial, radial, dip) จะลงอุปกรณ์ด้วยมือ เนื่องจากอุปกรณ์ประเภทนี้ไม่สามารถลงด้วยเครื่อง SMT (Pick & Place) ได้

ข้อดีของ Plated Thru-hole (axial, radial, dip)

  • ติดตั้งง่ายและสามารถถอดเปลี่ยนได้ง่าย
  • ต้นทุนถูก
  • ทนทานต่อความร้อนสูง
  • สามารถรองรับการใช้งานที่มีกำลังสูงได้
  • จัดการพลังงานได้ยอดเยี่ยม
  • สามารถสร้างต้นแบบได้ง่าย

ข้อเสียของ Plated Thru-hole (axial, radial, dip)

  • หากรูเจาะบนบอร์ด PCB มีมากพื้นที่บน PCB ก็จะลดลง
  • ต้องลงอุปกรณ์แบบแมนนวลเพราะไม่สามารถลงด้วยเครื่อง SMT (Pick & Place) ได้
  • ไม่เหมาะกับการออกแบบ pcb board ขนาดเล็ก

บรรจุภัณฑ์ Packing Components

          ในการสั่งซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เราจะเห็นได้ว่าตอนที่ได้รับมาหากซื้อ electronic components ในจำนวนมากๆ เราจะได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบม้วน, แบบตัดเทป, แบบหลอด, แบบถาดหรือแบบใส่ถุง ซึ่งในแต่ละแบบก็จะมีรูปแบบในการบรรจุหีบห่อตัว Electronic Components ที่แตกต่างกัน เราไปดูกันดีกว่าว่าในแต่ละแบบมีลักษณะแบบไหนและบรรจุหีบห่ออย่างไรบ้าง

  • แบบม้วน (Reel) จะเป็นลักษณะที่เราเห็นกันค่อนข้างบ่อย โดยในการบรรจุหีบห่อนั้น ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ประเภท SMD ในตัวเทปจะบรรจุตัวอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ แล้วจะมีเทปแปะอยู่ด้านบนเพื่อป้องกันตัวอุปกรณ์หลุดร่วงออกมา ส่วนหากเป็นอุปกรณ์ประเภท Plated Thru-hole (axial, radial, dip) จะมีลักษณะแถบเทปยาวคล้ายกับเทปสำหรับ SMD แต่จะเปลี่ยนจากใส่ลงในแถวเทปเป็นเสียบขาลงไปในเทปแทน
  • แบบตัดเทป (cut tape) จะเป็นการตัดออกจากเทปแบบม้วนออกมาเป็นชิ้นยาว โดยส่วนใหญ่มักจะตัดจำนวน 100 ชิ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ลงอุปกรณ์กับเครื่อง SMT (Pick & Plate) ได้
  • แบบหลอด (Tube) จะเป็นลักษณะหลอดใสมีส่วนโค้งเว้าเพื่อรองรับขาของตัวอุปกรณ์ โดยบรรจุภัณฑ์แบบหลอดนั้นจะมีหลากหลายขนาด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แพ็คเกจนั้นๆ และจะมีจุกปิดหัวท้ายเพื่อป้องกันการหล่นจากหลอด บรรุภัณฑ์แบบหลอดนี้จะใส่ electronic components แค่แบบ SMD เท่านั้น แบบ Plated Thru-hole (axial, radial, dip) จะไม่สามารถใส่ได้
  • แบบถาด (Tray) จะเป็นลักษณะแบบถาดสี่เหลี่ยมและมีบล็อคสำหรับใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และจะมีถาดฟิล์มป้องกันแสงปิดด้านบนเพื่อป้องกันตัวอุปกรณ์เคลื่อนที่ออกจากบล็อค
  • แบบใส่ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์แบบนี้จะใส่เอาไว้ในถุงพลาสติกหรือถุงซิป โดยการบรรจุหีบห่อแบบนี้เราไม่แนะนำอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจทำให้ตัวชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เกิดรอยขีดข่วนหรือเกิดความเสียหายได้ง่าย
souring component Packing Components

รูป : บรรจุภัณฑ์ Packing Components

Sourcing Component Package

sourcing electronic package

รูป : Sourcing Component Package

         ในการเลือก Sourcing Component Package ลูกค้าสามารถเลือกตามความต้องการ โดย Sourcing Component Package ของเรามีอยู่ด้วยกัน 4 Package ตั้งแต่ Package C1 ไปจนถึง Package C4 ซึ่งในแต่ละ Package นั้นจะมีบริการและและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ลูกค้าสามารถอ่านรายละเอียด Package ทั้งหมดจากข้อมูลด้านล่างได้ดังนี้

         Package C1 จะมีบริการ Component โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 7-30 วัน

         Package C2 จะมีบริการ Component และ PCB โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 15-50 วัน

         Package C3 จะมีบริการ Component และ Prototype โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 30-90 วัน

         Package C4 จะมีบริการ Component, Prototype และ Mass Product โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 45-210 วัน

         โดยลูกค้าจะต้องมี Bom.xls มาให้เรา

         ในการ Sourcing Component นั้นเราจะนับจากวันทำงาน วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ , วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดพิเศษต่างๆ

กระบวนการ SOURCING COMPONENTS

รูป : กระบวนการ SOURCING COMPONENTS

        การจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นขั้นตอนก่อนที่จะเข้า Process PCB Assembly ในขั้นตอนนี้อาจมีความวุ่นวายและค่อนข้างซับซ้อนสักเล็กน้อยหากไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องของตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ในการจัดหาไม่ใช่เพียงแค่ทำการจัดซื้อแล้วจบ แต่จะต้องเช็ครายละเอียดของตัวอุปกรณ์นั้น ๆ พร้อมทั้งต้องคำนวณจำนวนการซื้อให้สัมพันธ์กับงบประมาณที่จะนำไปประกอบ PCBA อีกด้วย เพราะถ้าหากทำการสั่งซื้ออุปกรณ์ผิดสเปคหรือจำนวนไม่ตรงกับที่คำนวณไว้แน่นอนว่าอาจจะต้องเสียเงินเพิ่มหรือเสียเวลาในการจัดหาใหม่แน่

        ในการนำเข้าตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากซัพพลายเออร์แต่ละเจ้าจะมีระยะเวลาไม่เท่ากันขึ้นอยู่ว่าสั่งจากที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ หากเจอซัพพลายเออร์ที่ไม่มีของแน่นอนว่าจะต้องรออีกนาน ซึ่งหากระยะเวลาการจัดส่งไม่ตรงตามกำหนดอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตใน Process ต่อไปได้

        การจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดูผิวเผินอาจจะง่าย แต่ถ้าหากไม่ชำนาญมากพอก็อาจผิดพลาดได้ ยกตัวอย่างปัญหาที่มักจะเจอในการจัดหาอุปกรณ์ เช่น คำนวณจำนวนอุปกรณ์ที่จะใช้ผิด เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดจากการที่ไม่ทำการเช็คตรวจให้ดีก่อนที่จะทำการสั่งซื้อ หรือจะเป็นสั่งอุปกรณ์ผิดสเปคแล้วไม่สามารถที่จะเช็คย้อนกลับได้ เหตุการณ์แบบนี้เรียกได้ว่าเกิดขึ้นบ่อยมากสำหรับคนที่ต้องทำตำแหน่งจัดซื้อ เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ทำการลิสต์รายการและเก็บฐานข้อมูลไว้สำหรับเช็คทำให้พอทำการสั่งซื้อผิดก็ไม่สามารถกลับมาย้อนตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการขนส่งที่มักจะเจอปัญหาอยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่ล้าช้ากว่ากำหนด หรือการติดขัดระหว่างการขนส่ง แน่นอนว่าหาก Components ไม่มาส่งก็ไม่สามารถที่จะทำการ Assembly ได้ ซึ่งผู้จัดซื้อจะต้องคำนวณระยเวลาในการจัดซื้อให้ดีไม่เช่นนั้นอาจส่งต่อไลน์ผลิตได้

        ปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดจากที่ผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา  Electronic Components ไม่มีระบบการจัดการที่ดี ไม่มีการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลสำรองเอาไว้สำหรับเช็คตรวจสอบย้อนกลับ จึงเป็นผลให้เวลาเกิดปัญหาอุปกรณ์ที่สั่งไม่ครบอุปกรณ์สั่งมาผิดสเปคไม่สามารถที่จะเช็คย้อนกลับหรือตรวจสอบข้อมูลได้ หรือหากจะไปเช็คที่ไฟล์ BOM หรือไฟล์ GERBER ถ้าคนที่ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญแน่นอนว่ายากที่จะเข้าใจและอาจจะไม่รู้ด้วยว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะต้องใช้จริง ๆ นั้นมีจำนวนเท่าไหร่หรือตัวอุปกรณ์แต่ละตัวใช้สเปคไหนบ้าง เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหานี้ขึ้นจำเป็นจะต้องมีการจัดการระบบที่พร้อมที่จะรองรับการเกิดปัญหาในภายภาคหน้า ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

        เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นจัดซื้อบางรายมักจะแก้ไขโดยวิธีการแบบง่าย ๆ อย่างเช่น สั่งซื้อใหม่ทันทีโดยทิ้งอุปกรณ์ที่สั่งมาผิดให้เสียเปล่า  ซึ่งการทำแบบนี้แทนที่จะได้ Assembly แต่สุดท้ายก็ต้องมานั่งรอทำให้เสียเวลาและทำให้เกิดความล่าข้า ไหนจะต้องเสียต้นทุนเพิ่มอีก ซึ่งการจัดหา  Electronic Components ที่ดี ควรจะมีการเตรียมข้อมูลการสั่งซื้อของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เรียบร้อยตั้งแต่ต้น ควรมีระบบการจัดการที่ดี เพื่อให้เวลาทำการสั่งซื้อสามารถที่จะตรวจสอบย้อนกลับและป้องกันการผิดพลาดในอนาคตได้

ขั้นตอน Sourcing Components Process

       Sourcing Components Process เป็นขั้นตอนการทำงานในการสั่งซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องมีการตรวจสอบ วางแผน เพื่อป้องกันการผิดพลาดและเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และใน Process การทำงานนั้นจะมีขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 5 ขั้นตอนหลักๆ

  1. รับคำสั่งซื้อ
  2. ตรวจสอบข้อมูล
  3. เตรียม Component
  4. แพ็คกิ้ง
  5. จัดส่ง
sourcing component process

รูป : ขั้นตอน Sourcing Components Process

1. รับคำสั่งซื้อ

       เราจะทำการตรวจสอบรายละเอียดภายในใบคำสั่งซื้อก่อน จากนั้นเราจะทำการแจ้งช่องทางการชำระเงิน เมื่อลูกค้าชำระเงินแล้วให้ทำการส่งหลักฐานการชำระเงินมาที่ไลน์หรืออีเมล และเราก็จะทำการยืนยันการสั่งซื้อกลับไปในช่องทางที่ลูกค้าติดต่อมา

รูป : รับคำสั่งซื้องาน Sourcing Components

2. ตรวจสอบข้อมูล

       ต่อมาเราจะทำการตรวจสอบ Bom.xls ที่ได้รับมาจากลูกค้า เช็คความถูกต้องและครบถ้วนของ เนื่องจากในการสั่งซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ Bom.xls เป็นสิ่งสำคัญมาก หากมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนโดยเฉพาะรหัสสินค้าผู้ผลิต เราจะไม่สามารถจัดหาได้อย่างถูกต้องได้
       โดยภายใน Bom.xls นั้น จะต้องประกอบไปด้วยรหัสผู้ผลิต, จำนวน, ตำแหน่ง,ค่าของอุปกรณ์, รายละเอียด เป็นต้น

check information sourcing component

รูป : ตรวจสอบข้อมูลไฟล์ Bom.xls

3. เตรียม component

       เมื่อได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อย เราก็จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์และเตรียมอุปกรณ์ตามไฟล์ Bom.xls เพื่อทำจะทำการแพ็คกิ้งในขั้นตอนต่อไป

รูป : ตรวจสอบข้อมูลไฟล์ Bom.xls

4. แพ็คกิ้ง

       ในขั้นตอนการแพ็คเราจะนำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ได้จัดเตรียมไว้มาทำการบรรจุภัณฑ์ โดยบรรจุภัณฑ์ของอุปกรณ์แต่ละชนิด แต่ละประเภทจะแตกต่างกัน แบบม้วน เราจะทำการห่อบับเบิ้ลกันกระแทก แบบตัดเทป เราจะทำการใส่ในถุงซิปจากนั้นก็จะทำการห่อบับเบิ้ลกันกระแทกอีกชั้น แบบหลอด เราจะห่อแบบเดียวกันกับแบบตัดเทปคือใส่ในถุงซิปและห่อบับเบิ้ลกัน ส่วนแบบถาด เราจะนำใส่ลงไปในโฟมที่ตัดเป็นช่องให้พอดีกับถาด จากนั้นก็ใส่โฟมกันกระแทกปิดชั้นบนจากนั้นปิดกล่องและนำส่ง

packing sourcing component

รูป : แพ็คกิ้งอุปกรณ์

5. จัดส่ง

       การจัดส่งของเรามีด้วยกันหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นรับด้วยตัวเอง, รถจักรยานยนต์ของขนส่งเอกชน, รถยนต์ของขนส่งเอกชน และขนส่งเอกชนช่องทางอื่นๆ นอกจากนี้เราจะสามารถจะจัดส่งไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย ในส่วนระยะเวลาในการจัดส่งนั้น หากเป็นภายในประเทศจะอยู่ที่ 1-2 วัน แต่หากเป็นการจัดส่งระหว่างประเทศระยะเวลาจะขึ้นอยู่ตามระยะทางและขนส่งที่ลูกค้าเลือก

รูป : จัดส่งอุปกรณ์

คำถาม

บริษัท มีสินทรัพย์ เทคโนโลยี จำกัด มีบริการอะไรบ้าง

R&D OUTSOURCE , PCB DESIGN , TRADING PCB , SOURCING COMPONENTS , PCB ASSEMBLY , BOX BUILD , MECHANICAL PART , WIRE HARNESS

ผลงาน PCB ที่ผ่านมา

ผลงานที่ผานมามีดังนี้ Click

ขั้นตอนการสั่งซื้อเป็นอย่างไร

1. ส่งใบคำสั่งซื้อหรือใบ PO 2. ชำระเงิน 3. ดำเนินงาน 4. ทำการจัดส่ง

หากสนใจใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่ช่องทางใดบ้าง

Line: meesinsuptechnology, Tel: 0898954407,E-mail: sales@meesinsup.co.th

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bill of Materials

Package Electronics Components

Sourcing Components Process

อนุญาตให้เผยแพร่ และต้องให้เครดิตบริษัท มีสินทรัพย์ เทคโนโลยี จำกัดเท่านั้น ห้ามดัดแปลงแก้ไข หรือนำไปใช้ในเพื่อการค้าโดยเด็ดขาด