Box Build เป็นการประกอบโดยการ นำบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ใส่ลงกล่องที่ทำการขึ้นรูปไว้ ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการประกอบบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์เสร็จแล้วก็จะนำไปประกอบให้เป็นโปรดักส์สำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน โดยตัวผลิต Box Build จะมีต้นทุนมาก-น้อยแตกต่างกันไปเมื่อเทียบเท่ากับขั้นตอนการ Assembly บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์เพราะเนื่องจากขั้นตอนในการประกอบบางงานไม่ซับซ้อนบางงานซับซ้อนเหมือนขั้นตอน PCB Assembly แต่ถึงอย่างนั้นในการประกอบต้องย่อมต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกัน
ลักษณะของ Box Build จะประกอบไปด้วยบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการ Assembly มาเรียบร้อยแล้ว แต่ก่อนจะนำมาประกอบจะต้องทำการทดสอบการใช้งานของตัวบอร์ดก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หลังจากทดสอบเรียบร้อยแล้วก็จะนำตัวบอร์ดมาใส่ลงในกล่องที่ทำการขึ้นรูปไว้ตามแบบ แล้วก็ไขน็อตเพื่อป้องกันการหลุดของตัวอุปกรณ์ หรือหากตัวกล่องไม่ได้ทำการขึ้นรูปมาก็ต้องทำการตัดเจาะกล่องให้ตรงตามแบบแล้วค่อยนำไปประกอบกับตัวบอร์ด PCB
รูป : Box Build
การประยุกต์ใช้ PCB Box Build
กับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
ในปัจจุบันในหลายอุตสาหกรรมต่างก็หันมาใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการทำงาน ทำให้การผลิตและการทำงานของในแต่ละอุตสาหกรรมลดระยะเวลาในการทำงานและมีความแม่นยำมากขึ้น เราจะทำการยกตัวอย่างดังนี้
ภาคอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ : ในการสร้าง box build สำหรับการบินและอวกาศตัวอุปกรณ์ทั้ง Printed Circuit Board และตัวกล่อง จะต้องมีความทนทานต่อแรงดัน ความกดอากาศ ความร้อนสูงและสภาพอากาศที่แปรปรวน
ภาคอุตสาหกรรมการทหาร : สำหรับภาคการทหารจะคล้ายกับภาคการบินและอวกาศ เพราะในการใช้งานส่วนใหญ่จะอยู่ในที่โล่งแจ้ง ตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จึงจะต้องมีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ผุพัง ทนต่อการกระแทกอย่างรุนแรงเพื่อให้สามารถใช้ได้ในระยะยาว
ภาคอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ : ในภาคอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กล่องที่ใช้ประกอบกับ circuit board ส่วนใหญ่จะเป็นระดับไฮเอนด์และบางรุ่นจะมีรูปแบบที่สวยงาม ตัวอุปกรณ์จะต้องทนทานและกระจายความร้อนได้ดี สามารถป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟ และมีน้ำหนักเบาให้สามารถขนย้ายได้
ภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ : สำหรับทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย ตัว Box Build จะต้องสอดรับกับการใช้งานของแต่ละตัวอุปกรณ์ อีกทั้งยังต้องมีความแม่นยำ ถูกต้องในการอ่านค่าต่างๆและทนทานเพื่อให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาว
ภาคอุปกรณ์อุตสาหกรรม : อุปกรณ์ในอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์จำพวกเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ตัวกล่อง box build นั้นจะต้องมีความแข็งแรง ทนทานต่ออุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นจัดได้ดี
ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ : ด้วยลักษณะการทำงานเป็นการเดินทางด้วยยานพาหนะ ในการประกอบ Box build assembly ตัวอุปกรณ์จะต้องมีความแม่นยำ ปลอดภัย มีความทนทานและสามารถใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศได้ดี เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่
ข้อมูลที่ต้องเตรียม
รูป : ข้อมูลที่ต้องเตรียม งาน Box Build
BOX BUILD หรือการประกอบบอร์ด pcb ลงกล่อง จะเป็นขั้นตอนที่ต่อการ PCB Assembly ซึ่งในการจะประกอบ Box Build นี้จะต้องมีข้อมูลประกอบหลัก 4 อย่าง Drawing.pdf, น็อตสำหรับไขปิดกล่อง, กล่องสำหรับใส่ PCB หรืออุปกรณ์อื่นๆ สำหรับใช้ในการประกอบ Box Build
สรุปข้อมูลที่ต้องเตรียมในการประกอบ Box Build
– Drawing
– น็อตสำหรับไขปิดกล่อง
– กล่องสำหรับใส่ PCB
– อุปกรณ์อื่นๆ สำหรับใช้ในการประกอบ Box Build
Drawing.pdf
สำหรับงานประกอบ Box Build ไฟล์ Drawing.pdf จะใช้ในการประกอบในขั้นตอนการทำงาน โดยด้านในจะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ อย่างเช่น ขนาดของกล่องและบอร์ด PCB, ระยะตำแหน่งต่างๆ ของตัวบอร์ดหรือตัวกล่อง box build
รูป : Drawing.pdf งาน Box Build
PCBA
บอร์ด PCBA เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกค้าจะต้องส่งมาให้เราเพื่อทำการนำลงกล่อง Box Build ซึ่งตัวของบอร์ด PCB นั้นจะต้องมีการลงอุปกรณ์มาเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะนำมาประกอบลงกล่อง Box Build
รูป : PCBA สำหรับ Box Build
Box
กล่องสำหรับ Box Build เป็นอีกสิ่งที่ลูกค้าจะต้องส่งมาให้เราเพื่อทำการประกอบ Box Build ตัวกล่องนั้น เป็นชิ้นส่วนที่เราจะทำการนำบอร์ด PCB มาทำการใส่ลงไปและทำการประกอบปิดก่อนจะนำไปใช้งาน
ซึ่งในการจะขึ้นรูปหรือประกอบกล่องนั้น ขนาดของกล่องจะต้องเหมาะสมกับการใช้งาน และช่องสำหรับติดตั้งบอร์ด pcb จะต้องไม่แคบเกินไปเมื่อทำการวางบอร์ดแผ่นวงจรพิมพ์
แต่หากลูกค้าไม่มีกล่อง เราก็สามารถจัดหากล่องสำหรับการประกอบ PCB Box Build ให้ได้
รูป : Box สำหรับ Box Build
น็อตสำหรับ box build
น็อตคือชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบปิดกล่อง Box Build ซึ่งน็อตจะเป็นส่วนสำคัญ หากไม่มีชิ้นส่วนนี้เราก็จะไม่สามารถทำการประกอบได้ แต่หากลูกค้าต้องการจะให้เราทำการจัดหาให้ เราก็สามารถที่จะทำการจัดหาให้ได้
รูป : Box สำหรับ Box Build
อุปกรณ์อื่นๆ สำหรับ box build
ในส่วนของอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับการประกอบ box build ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ สวิทซ์หรือหน้าจอ ลูกค้าจำเป็นที่จะต้องส่งให้เรา หากในส่วนประกอบของกล่อง box build จำเป็นที่จะต้องใส่อุปกรณ์อื่นๆ หรือหากลูกค้าต้องการใส่อุปกรณ์อื่นๆ แต่ไม่สามารถจัดหาได้ หากลูกค้าต้องการ เราก็สามารถที่จะจัดหาให้ได้
รูป : อุปกรณ์อื่นๆ สำหรับ box build
STEP File (ถ้ามี)
STEP File เป็นข้อมูลที่เราไม่ได้ใช้ในขั้นตอนการประกอบ pcb ลงกล่อง box build แต่หากลูกค้ามีข้อมูลนี้และต้องการจะส่งให้เราไว้ใช้ประกอบการ Box Build ในไฟล์ข้อมูล STEP File นั้นจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์อย่างเช่น ภาพ 3D ของตัวกล่อง Box Build หรือรายละเอียดของอุปกรณ์ภายในกล่อง Box Build
รูป : STEP File Box Build
Sample (ถ้ามี)
ตัวอย่างชิ้นงาน PCB Box Build ไม่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบกล่อง Box Build แต่หากลูกค้าต้องการจะส่งตัวอย่างเพื่อให้เราใช้ในการประกอบ ในตัวอย่างจะต้องประกอบไปด้วยตัวกล่องและบอร์ด PCB
รูป : sample Box Build
รูปภาพประกอบ (ถ้ามี)
ในส่วนของรูปภาพประกอบ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการจะส่งให้เรา ลูกค้าจะต้องทำการถ่ายรูปของกล่อง box build ทั้งด้านนอกกล่องและด้านในตัวกล่องให้เห็น PCB Board ชัดเจน จากนั้นก็ทำการส่งข้อมูลมาในช่องทางไลน์และอีเมลได้เลย
รูป : รูปภาพประกอบ Box Build
Box Build Package
รูป : Box Build Package
ในการเลือก Box Build Package ลูกค้าสามารถเลือกตามความต้องการ โดย Box Build Package ของเรามีอยู่ด้วยกัน 4 Package ตั้งแต่ Package B1 ไปจนถึง Package B4 ซึ่งในแต่ละ Package นั้นจะมีบริการและและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ลูกค้าสามารถอ่านรายละเอียด Package ทั้งหมดจากข้อมูลด้านล่างได้ดังนี้
Package B1 จะมีบริการ Box Build โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 7-30 วัน
Package B2 จะมีบริการ Box Build และ Component โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 15-50 วัน
Package B3 จะมีบริการ Box Build และ Prototype โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 30-90 วัน
Package B4 จะมีบริการ Box Build, Prototype และ Mass Product โดยจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ที่ 45-210 วัน
โดยลูกค้าจะต้องมี Drawing.pdf, น็อตสำหรับไขปิดกล่อง, กล่องสำหรับใส่ PCB หรืออุปกรณ์อื่นๆ สำหรับใช้ในการประกอบ Box Build มาให้เรา
ในการ Box Build นั้นเราจะนับจากวันทำงาน วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ , วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดพิเศษต่างๆ
ข้อควรคำนึงถึงในการประกอบ Box Build Assembly
การประกอบ Box build assembly จะต้องมีสิ่งที่คำนึงถึงเพราะการนำ pcb board ไปประกอบเข้ากับกล่องโมดูลนั้น จะต้องวางส่วนประกอบต่างๆไม่ว่าจะทั้งสายไฟ PCB Board หรือส่วนประกอบต่างๆจะต้องถูกจัดวางในจุดที่เหมาะสม เพราะหากวางไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อการใช้งานในระยะยาวได้
เค้าโครงภายนอก : เค้าโครงภายนอกหรือกล่องโมดูลที่จะใช้ในการใส่ circuit board ควรจะมีขนาดที่พอเหมาะกับการใช้งาน เลย์เอาต์ควรมีช่องที่ง่ายและสะดวกต่อการใส่แผ่น PCB และควรจะสามารถกระจายความร้อนได้ดี เนื่องจากในการทำงานเป็นระยะเวลานานอาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ตัวกล่องภายนอกควรจะเป็นวัสดุที่ระบายความร้อนได้
ตัวจ่ายพลังงาน : ควรวางไว้ด้านล่างของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะเนื่องจากตัวจ่ายพลังงานส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากและสร้างความร้อน จึงเหมาะที่จะวางที่ด้านล่างสุดของตัวอุปกรณ์ นอกจากนี้ขั่วไฟฟ้าแรงสูงและสายไฟฟ้าแรงสูงควรหุ้มฉนวนเอาไว้เพื่อให้กระแสไฟไหลสู่กล่องและอาจทำให้เกิดไฟดูดได้
อุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือบ่งชี้ : ในการใช้งานอุปกรณ์ box build ควรจะมีอุปกรณ์สำหรับควบคุมการใช้งานหรือตัวบ่งชี้เพื่อสะดวกต่อการใช้งานหรือตรวจสอบ
ส่วนประกอบ : ส่วนประกอบไม่ว่าจะสายไฟหรืออุปกรณ์ที่อยู่ภายในกล่อง Box Build ต่างๆ ควรวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายระหว่างการใช้งานและเพื่อให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กำลังสูง : ในส่วนของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำลังสูงประเภทนี้จะสร้างความร้อนสูงเมื่อทำงาน ควรจัดวางหรือออกแบบให้สามารถกระจายความร้อนได้ง่าย และควรจะติดพัดลมหรืออุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิด้วย
วงจรความถี่สูง : ในส่วนขงอวงจรความถี่สูงควรทำตามดังต่อไปนี้
- ควรแยกวงจรความถี่สูงและวงจรความถี่ต่ำหากต้องอยู่บน Printed Circuit Board เดียวกัน
- ไม่ควรติดตั้งชิ้นส่วนที่เป็นโลหะกับสายป้องกันที่ไม่รู้จัก เพราะอาจลดค่าความเหนี่ยวนำของฟอยล์ได้
- ชิ้นส่วนที่มีความถี่สูงและสายเชื่อมต่อ ควรจัดวางไว้ที่ห่างจากตัวกล่องภายนอกเพื่อลดความจุไฟฟ้าแบบกระจาย
- จำพวกข้อต่อควรจัดระเบียบเรียงอยู่ภายในกล่องไม่ควรโผล่หรือเอามาไว้ด้านนอก
สายกราวด์ : โดยทั่วไปสายกราวด์จะขึ้นอยู่กับเค้าโครงหรือขนาดของพื้นที่ตัวกล่องที่ขนาดใหญ่ และจะจัดวางไว้ที่ขอบบอร์ด PCB โดยทั่วไปสายกราวด์ควรจะวางไว้ส่วนของด้านล่างฐาน และหากจะตั้งสายกราวด์ควรเป็นสายทองแดงหนาจะดีที่สุด แต่หากจะลดการควบคุมอิมพีแดนซ์ของสายกราวด์ก็สามารถใช้สายทองแดงแบนในการลดค่า
การรัดสายไฟ : ในการรัดสายไฟในกล่อง Box Build ควรรัดให้เป็นระเบียบและมีช่องว่างสำหรับการใช้งานและตรวจสอบในอนาคต เพราะถ้าหากไม่ทำการรัดสายไฟหรือรัดไม่เป็นระเบียบอาจจส่งผลเสียหากใช้งานเป็นระยะเวลานานได้
ตะกั่วและสายไฟเชื่อมต่อ : ไม่ควรจะดึงแน่นเกินไป ควรมีความยืดหยุ่นให้พอสมควรเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและการบำรุงรักษา
ข้อดีข้อเสียของ Box build assembly
ในการประกอบ Box build assembly ย่อมมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป เรามาดูกันหน่อยดีกว่าว่า ข้อดีข้อเสียของการประกอบ Box Build นั้นมีอะไรบ้าง
ข้อดี
- หลังจากประกอบเสร็จเราสามารถนำไปขายหรือนำไปใช้งานได้เลย
- ใช้งานง่าย
- สามารถออกแบบได้ตามความต้องการ
- ราคาไม่สูงนอกเสียจากเป็นโปรดักส์ที่ทำการวิจัยใหม่ตั้งแต่ต้น
ข้อเสีย
- ต้องเพิ่มต้นทุนสำหรับการทำกล่องใส่แผ่นปริ้นด้วย
- ต้องออกแบบกล่องที่จะทำการใส่ Print Circuit Board ให้พอดี ไม่ขาดไม่เกิน
- ยิ่งผลิตน้อยยิ่งต้นทุนสูง
ขั้นตอน Box Build Process
Box Build Process เป็น Process การทำงานของการประกอบ PCB Board ลงกล่อง โดยขั้นตอนของการประกอบ box build ของเรานั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน ได้แก่
- รับคำสั่งซื้อ
- ตรวจสอบข้อมูล (pdf)
- เตรียมไลน์การผลิต
- ดำเนินการผลิต
- ตรวจสอบคุณภาพสินค้า
- แพ็คกิ้ง
- จัดส่ง
โดยในแต่ละขั้นตอนนั้นเราจะทำงานกันตามลำดับไม่ข้ามขั้นตอน และมีการตรวจสอบ QC ทุกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาดและใหได้คุณภาพสินค้าที่ดีเยี่ยม
รูป : ขั้นตอน Box Build Process
รับคำสั่งซื้อ
ขั้นตอนที่ 1 รับคำสั่งซื้อ : ในการรับคำสั่งซื้อเราจะทำการตรวจสอบรายการออเดอร์ภายในใบคำสั่งซื้อก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นเมื่อลูกค้าทำการส่งหลักฐานการชำระเงิน เราก็จะทำการตรวจสอบความถูกต้องและทำการยืนยันคำสั่งซื้อกลับไป และเริ่มดำเนินขั้นตอนที่ 2
รูป : รับคำสั่งซื้องาน Box Build
ตรวจสอบข้อมูล (Drawing.pdf)
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบข้อมูล : ข้อมูลที่เราจะได้จากลูกค้าหลักๆ คือไฟล์ Drawing.pdf ซึ่งภายในไฟล์ Drawing.pdf นั้นจะต้องมีข้อมูลที่ประกอบไปด้วย Dimension ขนาด ความกว้างความยาวของตัวกล่อง Box Build และตัวบอร์ด PCB ที่จะใช้ในการประกอบลงกล่อง box build ข้อมูลที่ลูกค้าให้มาเหล่านี้จะต้องถูกต้องและครบถ้วน
รูป : ตรวจสอบข้อมูลงาน Box Build
เตรียมไลน์การผลิต
ขั้นตอนที่ 3 เตรียมไลน์การผลิต : จากนั้นก็เราจะทำการเตรียมไลน์ผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมกล่องสำหรับประกอบ box build การเตรียม pcb boards การเตรียมน็อตและอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับการประกอบ Box Build เพื่อเตรียมสำหรับการประกอบ pcb box build
รูป : เตรียมไลน์การผลิต Box Build
ดำเนินการผลิต
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการผลิต : ต่อมาเราก็จะเริ่มดำเนินงานผลิต โดยเราจะทำงานกันเป็นระบบ โดยหนึ่งคนทำการนำบอร์ด PCB หนึ่งคนทำการใส่น็อต และหนึ่งคนทำการประกอบปิดกล่อง และหากต้องใส่อุปกรณ์อื่นๆ ก็จะมีอีกหนึ่งคนทำการประกอบ และเมื่อทำการประกอบ box build เสร็จ เราก็จะทำการ QC เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
รูป : ดำเนินการผลิต Box Build
ตรวจสอบคุณภาพสินค้า
ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบคุณภาพสินค้า : หลังจากประกอบลงกล่อง Box Build เสร็จต่อไปเราก็จะทำการเข้าสู่การตรวจสอบคุณภาพ ในการตรวจสอบนั้นเราจะทำการตรวจสอบทั้งการใช้งาน การบำรุงรักษาในอนาคต รวมทั้งการตรวจเช็คตามไฟล์อ้างอิงของลูกค้า เพื่อให้ตัวสินค้าสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูป : ตรวจสอบคุณภาพสินค้า Box Build
แพ็คกิ้ง
ขั้นตอนที่ 6 แพ็คกิ้ง : ในขั้นตอนการแพ็คบรรจุภัณฑ์ ขั้นแรกเราจะเริ่มจากการวัดขนาดของกล่อง Box Build ก่อน จากนั้นก็จะทำการนำขนาดของกล่องไปทำการตัดช่องให้มีความพอดีและทำการนำโฟมไปใส่ในกล่องลัง แล้วทำการห่อกล่อง box build ด้วยบับเบิ้ล จากนั้นก็นำไปใส่ลงในช่องโฟมที่ทำการตัดไว้
รูป : แพ็คกิ้ง Box Build
จัดส่ง
ขั้นตอนที่ 7 จัดส่ง : ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการจัดส่ง ซึ่งในการจัดส่งนั้นเรามีช่องทางการจัดส่งหลากหลายเช่น รับด้วยตัวเอง, รถจักรยานยนต์ของขนส่งเอกชน, รถยนต์ของขนส่งเอกชน และขนส่งเอกชนช่องทางอื่นๆ นอกจากนี้หากลูกค้าต้องการให้เราจัดส่งไปยังต่างประเทศ ในส่วนระยะเวลานั้น จะอยู่ที่ 1-2 วันทำการหากเป็นการจัดส่งภายในประเทศ หากเป็นการจัดส่งระหว่างประเทศระยะเวลาจะขึ้นอยู่สถานที่ตั้งปลายทางและกระบวนการจัดส่งของขนส่ง
รูป : จัดส่ง Box Build
การควบคุมคุณภาพเป็นการตรวจสอบว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นๆได้มาตรฐานและตรงตามข้อกำหนดหรือไม่ เพื่อให้ตัวอุปกรณ์ได้คุณภาพที่ดีและสามารถใช้งานได้ยืนยาว จึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบอยู่เป็นระยะๆ โดยในการควบคุมคุณภาพจะมีตามหัวข้อดังนี้
การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆในกล่อง box build : ส่วนประกอบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วน electronic components, สายไฟ, PCB ไปจนถึงตัวกล่องโมดูล ทุกส่วนประกอบจะต้องได้มาตรฐานทุกชิ้น
การตรวจสอบแผงวงจร : ก่อนที่จะนำแผ่นวงจรประกอบลงกล่อง จะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าตัวบอร์ด pcb ได้มาตรฐานหรือมีความบกพร่องใดๆหรือไม่ โดยในการตรวจสอบสามารถตรวจสอบด้วยตาหรือเครื่องตรวจสอบด้วยแสงอัตโนมัติ (AOI) ก็ได้
การตรวจสอบการประกอบ Box Build Assembly : ไม่ว่าจะตำแหน่งการจัดวาง จุดที่จะต้องขันน็อตหรือตำแหน่งการวาง Printed Circuit Board ก็ตามแต่ ระหว่างขั้นตอนการประกอบเราจะต้องมีการตรวจสอบเพื่อความถูกต้องและแม่นยำ
การทดสอบการทำงาน : เมื่อทำการประกอบ Box Build Assembly เสร็จเรียบร้อยต่อไปก็ต้องทำการตรวจสอบการทำงานรวมไปถึงการจ่ายไฟต่างๆของตัวอุปกรณ์ว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่
การทดสอบด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก : เมื่อทดสอบการทำงานภายในก็ต้องทดสอบความทนทานภายนอกด้วย เนื่องจากบางอุปกรณ์จะต้องนำไปใช้งานตากแดดตากฝน เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์มีความทนทานจึงจำเป็นต้องมีการทดสอบความทนต่อสภาพแวดล้อมด้วย
การควบคุมเอกสาร : ในการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ จำเป็นจะต้องมีรายงานการตรวจสอบ ผลการทดสอบหรือเอกสารที่ให้คำแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
การปรับปรุงอุปกรณ์ : เมื่อเราใช้งานอุปกรณ์ไปในระยะเวลาหนึ่ง จำเป็นจะต้องมีการดูแล ซ่อมแซมและปรับปรุงอุปกรณ์ เพื่อให้ตัวอุปกรณ์มีอายุในการใช้งานได้นานและได้มาตรฐาน จำเป็นจะต้องคอยดูแลซ่อมบำรุงอยู่สม่ำเสมอ
คำถาม
R&D OUTSOURCE , PCB DESIGN , TRADING PCB , SOURCING COMPONENTS , PCB ASSEMBLY , BOX BUILD , MECHANICAL PART , WIRE HARNESS
ผลงานที่ผานมามีดังนี้ Click
1. ส่งใบคำสั่งซื้อหรือใบ PO 2. ชำระเงิน 3. ดำเนินงาน 4. ทำการจัดส่ง
Line: meesinsuptechnology, Tel: 0898954407,E-mail: sales@meesinsup.co.th
อนุญาตให้เผยแพร่ และต้องให้เครดิตบริษัท มีสินทรัพย์ เทคโนโลยี จำกัดเท่านั้น ห้ามดัดแปลงแก้ไข หรือนำไปใช้ในเพื่อการค้าโดยเด็ดขาด